กว่าจะเป็นหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาได้นั้น เกิดจากความพยายามอัน
ยาวนานของสำนักหอสมุดรวมทั้งการที่ผู้บริหารระดับสูงได้ให้ความสำคัญดังกล่าวข้างต้น จึงมีหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เกิดขึ้นลำดับความต่อเนื่องของหอจดหมายเหตุ ประมวลได้
โดยสรุปคือ
2522 ผศ. ดรุณา สมบูรณกุล ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดในขณะนั้น ( พ.ศ. 2509 – 2524)
ได้อนุมัติให้ นางผ่องพันธ์ รัตนภูษิต บรรณารักษ์ฝ่ายวารสารและเอกสารไปประชุมเรื่อง
การศึกษาการจัดระบบเอกสารและจดหมายเหตุที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 19
–23 กุมภาพันธ์ 2522 นางผ่องพันธ์ ได้เขียนรายงานและมีข้อเสนอแนะสรุปได้ว่า
“หน่วยงานของมหาวิทยาลัยควรจัดตั้งศูนย์เก็บเอกสาร สถานที่ตั้งของศูนย์เอกสาร อาจจะ
ใช้หอสมุดกลาง หรือที่อื่นใดแล้วแต่จะพิจารณาตามความเหมาะสม ”
2526 สำนักหอสมุด เริ่ม “ โครงการจดหมายเหตุเกษตรศาสตร์ ” โดยเสนอให้ระบุงาน
จดหมายเหตุไว้ในวัตถุประสงค์หลักของสำนัก ในแผนงานปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ใน
ช่วงแผนพัฒนาฯ ระยะที่หก (พ.ศ. 2530 – 2534) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ประจำสำนักหอสมุด
2526 มหาวิทยาลัยพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับงานจดหมายเหตุ โดยส่งนางสาวเกื้อกูล วิชชจุฑากุล บรรณารักษ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปฝึกอบรมหลักสูตร
Archive Administration ซึ่งจัดโดย British Council เมือง Oxford ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 4 –16 กันยายน 2526
2526 สำนักหอสมุดนิทรรศการระลึกถึงศาสตราจารย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ในโอกาส
ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สถาปนามาครบ 40 ปี ( 2 กุมภาพันธ์ 2526 )
2527 นิทรรศการรายงานการประชุมวิชาการเกษตรศาสตร์ รวบรวมผลงานทางวิชาการ สิ่งพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2528 นิทรรศการโครงการจดหมายเหตุเกษตรศาสตร์ แสดงเอกสารจดหมายเหตุประวัติ
ความเป็นมาและพัฒนาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่สมัยกระทรวงเกษตรา
ธิการและบันทึกเหตุการณ์สำคัญของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย
2529 มหาวิทยาลัยขอความร่วมมือจากสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม รวบรวมภาพ เทปบัน
ทึกตำราที่สมควรเก็บไว้ มอบให้สำนักหอสมุด และขอให้ดำเนินการเช่นนี้ตลอดไป(คำสั่ง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 1614 / 2529 )
24 มิ.ย. 2530 นิทรรศการพระช่วงเกษตรศิลปการ และส่งมอบภาพพระช่วงเกษตรศิลปการ
โดยศาสตราจารย์ ดร. สุธรรม อารีกุล อธิการบดีในขณะนั้นเป็นผู้รับมอบ (หลวงอิงคศรีกสิ
การ มาร่วมด้วย )
3 ก.พ. 2532 สัมมนาวิชาการเนื่องในวันสถาปนามหาวิทยาลัยครบ 46 ปี เรื่อง"จดหมาย
เกษตรศาสตร์" เชิญอาจารย์เบญจมาศ ตันตยาภรณ์ บรรยายเรื่อง “ จดหมายและงาน
จดหมายเหตุในมหาวิทยาลัย : สนทนาเพื่อระลึกถึงศาสตราจารย์ หลวงอิงคศรีกสิการ
โดยศาสตราจารย์ ดร. จรัญ จันทลักขณา อาจารย์ดรุณา สมบูรณกุล ศาสตราจารย์
ดร.สุธรรม อารีกุล ดำเนินการอภิปรายโดย ดร. สุพล จันทราปัตย์
2533 จัดทำโครงการบรรจุเข้าแผน ฯ 7 ( ปี พ.ศ. 2535 –2539) ขออนุมัติจัดตั้งเป็นฝ่าย
หอจดหมายเหตุ เกษตรศาสตร์ได้รับอนุมัติในหลักการ
ก.พ. 2536 นิทรรศการเรื่อง พัฒนาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระที่มหาวิท
ยาลัยเกษตรศาสตร์ครบรอบสถาปนา 50 ปี ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ
14 ก.ย. 2536 การสนทนาเรื่อง เกษตรรำลึก : นานาทัศนะจากอาจารย์ ศิษย์เก่า และ
นิทรรศการ(วิทยากร คือ ศาสตราจารย์ระพี สาคริก, ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร)
รับมอบภาพหลวงอิงคศรีกสิการจากทายาทโดยอดีตอธิการบดี ( ศาสตราจารย์ ดร. กำพล
อดุลวิทย์ ) และจัดนิทรรศการประวัติ 3 บูรพาจารย์
2539 นิทรรศการ 100 ปี หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ
2546 อธิการบดี ( รองศาสตราจารย์ ดร. วิโรจ อิ่มพิทักษ์ ) มีดำริให้ดำเนินงานจดหมาย
เหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้ชั้นที่ 1 ถึง ชั้นที่ 3 อาคารหอประชุมมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ เป็นที่ทำการหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
25 พ.ย. 2546 กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี ได้วิเคราะห์ โครงการจัดตั้งหอจดหมาย
เหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสนอที่ประชุมคณบดีและสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา
การจัดตั้งหอจดหมายเหตุ
19 พ.ค. 2547 สภามหาวิทยาลัยมีมติให้จัดตั้ง หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานภายใน มี
ฐานะเทียบเท่ากองในสังกัดสำนักงานอธิการบดี ( ประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เรื่องจัดตั้งหอจดหมายเหตุ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 )
3 .สค. 2549 มหาวิทยาลัยรวมหอประวัติให้เป็นภารกิจในกำกับของหอจดหมายเหตุ ( ตาม
ประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2549 )
 
|