โครงการศึกษาและดูงานเพื่อพัฒนางานจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯและ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

 จัดโดย    หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    
วัตถุประสงค์ของโครงการ     
                  พื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้เข้าใจงานจัดเก็บ รวบรวม อนุรักษ์บริการเอกสารจดหมายเหตุและการ    จัดแสดงเอกสารทางด้านจดหมายเหตุ  เพื่อนำมาปรับใช้ทั้งในหน่วยงานของตน และพัฒนางานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยโดยส่วนรวม

  
ผู้เข้าร่วมโครงการ
        
 คณะอนุกรรมการจัดระบบ ประเมินคุณค่าและกำหนดอายุการเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัย        ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 35 คน

รายละเอียดการดูงาน
                

 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

         การไปศึกษาและดูงานเพื่อพัฒนางานจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเป็นสถานที่แรกที่ผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ได้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาและดูงาน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเป็นสถานที่เผยแพร่พระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยกับการพัฒนาการเกษตร และรวบรวมผลงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีวิทยากรประจำพิพิธภัณฑ์เป็นผู้นำชม บริเวณพื้นที่ในการจัดแสดงแบ่งออกเป็น 5  อาคาร อาคารแรกคืออาคารเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการเกษตรในประเทศไทย และเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กับการเกษตรของไทยในด้านต่างๆ รวมถึงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานเกษตรอย่างเช่น โครงการฝนหลวง โครงการเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ผล  สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำเสนอในเรื่องของวิถีชีวิตของชาวไทย กิจกรรมต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่นการชลประทาน  การส่งเสริมการเกษตร การอารักขาพืช  อุตสาหกรรมการเกษตร   
        ในส่วนของอาคารหลังที่ 2 คือ อาคารระบบนิเวศ  จัดแสดงเรื่องราวกิจการประมงน้ำเค็ม น้ำจืดในประเทศไทย สัตว์เศรษฐกิจทางทะเล ระบบนิเวศวิทยาใต้น้ำ การอนุรักษ์ป่าชายเลน  
           อาคารหลังถัดมา คือ อาคารการปศุสัตว์ นำเสนอเกี่ยวกับปศุสัตว์กับสังคมเกษตรไทย ประเพณีเกี่ยวกับสัตว์ที่สำคัญๆ เช่น การชนไก่ ชนวัว การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสัตว์เช่น การผลิตนมวัว อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เป็นต้น
           อาคารหลังที่ 4 คือ อาคารทรัพยากรป่าไม้ แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของกรมป่าไม้  การอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่า  การป้องกันไฟป่า การทำป่าไม้ การปลูกป่าและอุทยานแห่งชาติต่างๆ  ประวัติการสำรวจค้นคว้าทางพฤกษศาสตร์ป่าไม้ รวมถึงประวัติและชีวิตการทำงานของ ศ. ดร. เต็ม       สมิตินันทน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านป่าไม้และพฤกษศาสตร์ของประเทศไทย

         อาคารหลังที่ 5 คือ อาคารพัฒนาที่ดิน นำเสนอเรื่องราวของการพัฒนาที่ดินการปฏิรูปที่ดินและประวัติของสหกรณ์ในประเทศไทย  และประวัติของพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย คือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
 

  หอจดหมายเหตแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    

            เป็นสถานที่แห่งที่สองที่ผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ได้เข้าเยี่ยมชม โดยมีคุณอรอุมา สมบูรณ์ทรัพย์ และ
คุณสาลินี  ชุ่มวรรณ นักจดหมายเหตุเป็นผู้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโดยคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2540 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ  
           การดำเนินงานของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว              ภูมิพลอดุลยเดชจะเน้นในการจัดเก็บรวบรวม จัดแสดง และให้บริการสืบค้นเอกสารที่เกี่ยวเนื่องในพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศ์ อาทิ พระราชหัตถเลขา พระบรมราโชวาท พระบรมฉายาลักษณ์ แถบบันทึกพระสุรเสียง ตลอดจนเอกสารการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น 
         การให้บริการและการจัดแสดง หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ภูมิพลอดุลยเดช จะมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว          ภูมิพลอดุลยเดชตั้งแต่เสด็จพระราชสมภพ จนถึงในช่วงของพระราชพิธีกาญจนาภิเษก 

         
ส่วนของการให้บริการให้บริการค้นคว้าโดยการสืบค้นข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  เนื่องจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้มีการจัดเก็บรวบรวมเอกสารในรูปของสื่อดิจิตอลและไมโครฟิล์ม ซึ่งผู้เข้าใช้บริการสามารถสืบค้นได้ทาง  http://www.narama9.go.th
          หลังจากชมวิดีทัศน์แนะนำหอจดหมายเหตุฯ วิทยากรได้นำชมส่วนงานต่างๆของหอจดหมายเหตุทั้งในส่วนงานการจัดเก็บรวบรวมเอกสารประเภทลายลักษณ์อักษร เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ และกระบวนการแปลงข้อมูลสื่อโสตทัศนจดหมายเหตุให้อยู่ในรูปของระบบดิจิตอลเพื่อให้บริการ พร้อมทั้งการนำชมนิทรรศการพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยลเดช