![]() |
|
ระยะเวลาการศึกษาและดูงาน วันที่ 23 มีนาคม 2550 เวลา 9.00 – 16.00 น.
การไปศึกษาและดูงานเพื่อพัฒนางานจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์อัยการไทย การไปศึกษาและดูงานเพื่อพัฒนางานจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พิพิธภัณฑ์อัยการไทยเป็นสถานที่แรกที่ผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ได้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาและดูงาน โดยมีคุณเอมอร ตันเถียร หัวหน้าศูนย์วิทยบริการ เป็นวิทยากรบรรยายแนะนำพิพิธภัณฑ์อัยการไทยให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการและได้รับเกียรติจาก รองอธิบดีอัยการฝ่ายวิชาการ ( นายพีระศักดิ์ ศรีสุพล) มากล่าวต้อนรับคณะผู้ศึกษาดูงาน โดยเป็นการบรรยายถึงประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์อัยการไทย ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งโครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดกฎหมายโบราณ ในปี พ.ศ. 2535 จนมาถึงในปัจจุบัน ในส่วนของการดำเนินงานในเรื่องของการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุนั้น ทางพิพิธภัณฑ์อัยการไทยได้มีการจัดแบ่งประเภทของเอกสารออกเป็น 5 ประเภทด้วยกันคือ หนังสือราชการ สำนวนคดีประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณ เอกสารต้นฉบับตัวเขียน และ เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ
หอจดหมายเหตุ หอประวัติและพิพิธภัณฑ์ ดร. ไสว สุทธิพิทักษ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นสถานที่แห่งที่สองที่ผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ได้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาและดูงาน ตั้งอยู่ที่ชั้น 6 อาคารไสว สุทธิพิทักษ์อนุสรณ์ เป็นหน่วยงานในสังกัดศูนย์สนเทศและหอสมุด เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 โดยให้บริการเอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์อักษรและเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุแก่บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เพื่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ภายในหอจดหมายเหตุ บริการยืมเพื่อการใช้อ้างอิงแก่หน่วยงานเจ้าของเอกสาร บริการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องมือช่วยค้นตามระบบงานจดหมายเหตุ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 8.30-16.00 น. ยกเว้นวันอาทิตย์ วันจันทร์ และวันหยุดราชการอื่นๆ โดยมีคุณศราวุฒิ วัชระปันดี นักจดหมายเหตุ เป็นวิทยากรและนำชมงานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จะเกี่ยวกับประวัติการจัดตั้งมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัติ กฎทบวง ข้อบังคับ คำสั่ง แผนแม่บทและแผนพัฒนามหาวิทยาลัย หลักสูตรและระเบียบการศึกษา แถบบันทึกเสียง วีดีทัศน์ ภาพถ่าย เป็นต้น
|
|
![]() |
|
![]() |
|
![]() |
|
![]() |
|