การประชุมสัมมนาใหญ่สมาคมจดหมายเหตุประจำปี 2549
เรื่อง เรียนรู้อีสานผ่านจดหมายเหตุ
วันที่ 18 -19 มกราคม 2550
ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
|
จัดโดย สมาคมจดหมายเหตุไทย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุลราชธานี และสมาคมธรรมศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี
|
การประชุมสัมมนาในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ในส่วนของการบรรยายในวันแรก การทัศนศึกษาและศึกษาดูงานในวันที่ 2
พิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการโดย ศ. เกียยรติคุณ คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
การบรรยายทางวิชาการ เริ่มโดย ศ. ธวัช ปุณโณทก และอาจารย์พจนีย์ เพ็งเปลียน ในส่วนของ ศ. ธวัช ปุณโณทก จะบรรยายเกี่ยวกับเรื่องของประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติและการตั้งถิ่นฐานเป็น รัฐไทยบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง โดยอาศัยหลักฐานทางด้านโบราณคดีควบคู่ไปกับการศึกษาทางด้านจารึกและ ตำนานพื้นบ้านของทางภาคอีสานที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต การศึกษาของชาวอีสาน จากอดีตมาจนถึงในปัจจุบัน
ในส่วนของอาจารย์พจนีย์ เพ็งเปลี่ยน บรรยายในเรื่อง " การสืบทอดวัฒนธรรมด้านตัวอักษร และภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน" ที่กล่าวว่าภาษาท้องถิ่นของภาคอีสานนั้นสามารถแยกย่อยได้ตามกลุ่มของชาติพันธุ์
ที่อาศัยอยู่ในเขตอีสานโดยมีด้วยกันหลักๆ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มไทย - ลาว ,กลุ่มเขมร- ส่วย และกลุ่ม
ไทยเบิ่ง หรือ ไทยโคราช แต่ทั้ง 3 กลุ่มชาติพันธุ์มีวัฒนธรรมที่เหมือนกันและยังคงมีการสิบทอดมา
จนถึงในปัจจุบันก็คือ ในเรื่องของการนับถือ " ฮีตสิบสอง" (ประเพณีในรอบ 12 เดือน)
ในช่วงบ่ายเป็นการบรรยายโดยวิทยากร 4 ท่านคือ
-บันทึกอีสานผ่านเลนส์ โดย รศ. วิโรฒ ศรีสุโร เป็นการนำภาพถ่ายในอดีตตั้งแต่ปี 2508 มาแสดง
ประกอบการบรรยายให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมทางอีสาน ที่ส่งผลให้ชาวอีสาน
สูญเสียทั้งเอกลักษณ์และอัตตลักษณ์ของตน
- แม่น้ำโขงในแผนที่ฝรั่ง โดย ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช นำเสนอการใช้แผนที่เก่าของชาวต่างชาติมา
แสดงให้เห็นถึงการรับรู้ของชาวต่างชาติที่มีต่ออาณาเขตในแถบลุ่มแม่น้ำโขงในสมัยอดีตว่าเป็น
อย่างไร โดยผ่านทางชื่อเรียกของพื้นที่ในภาคอีสานที่ปรากฎในแผนที่สมัยก่อน
- การจัดตั้งหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ โดย พญ. กรรณิการ์ ตันประเสริฐ และ น.พ. บัญชา
พงษ์พานิช การบรรยายเกี่ยวข้องกับการนำเสนอรูปแบบ แผนงานและโครงการที่ได้ดำเนินการไว้ในการ
จัดตั้งหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ ที่จะมีขึ้นที่ สวนรถไฟ จตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยในส่วนของ
หอจดหมายเหตุที่จะจัดตั้งขึ้นนี้จะเป็นการนำ หนังสือ ผลงาน เอกสารโต้ตอบส่วนบุคคลของท่านพุทธทาส
และรูปถ่ายส่วนตัวของท่านมาจัดเก็บรวบรวมไว้ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจได้ใช้ประโยชน์ต่อไป
ในวันที่ 2 ของการประชุมสัมมนา จะเป็นการศึกษาดูงานและทัศนศึกษายังสถานที่ต่างๆในจังหวัด
อุบลราชธานี เช่น ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ,
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดอุบลราชธานี , หอจดหมายเหตุ จังหวัดอุบลราชธานี ,วัดทุ่งศรีเมือง
ศูนย์อนุรักษ์หัตถกรรมหล่อทองเหลือง บ้านปะอาว และวัดสุปัฏนารามวรวิหาร
|