การประชุมสัมมนาประจำปีสมาคมจดหมายเหตุสยามประจำปี 2552 และสัมมนาวิชาการ
"จดหมายเหตุสยาม : จากกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรถึงเมืองจันทบูร์ "
วันที่ 22 -23 กรกฎาคม 2553
ณ โรงแรม
รอยัลริเวอร์ เชิงสะพานกรุงธน
จัดโดย สมาคมจดหมายเหตุไทย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนความก้าวหน้าขององค์ความรู้เกี่ยวกับ “ ธนบุรี-จันทบุรีศึกษา ”
2. เพื่อ
พัฒนาการศึกษาด้าน “ ธนบุรี-จันทบุรีศึกษา ” ในสถาบันทุกระดับ
3. เพื่อ
กระตุ้นให้เกิดการศึกษาและเผลแพร่วิธีการจัดทำประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าหรือมุขปาฐะ
ผู้เข้าร่วมโครงการ
สมาชิกสมาคมจดหมายเหตุไทย นักจดหมายเหตุ นักเอกสารสนเทศ ผู้ปฏิบัติงานด้านเอกสาร ครู-อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
การสัมมนาสามัญประจำปีสมาคมจดหมายเหตุไทย 2552 มีกิจกรรมดังนี้
การประชุมสัมมนาในครั้งนี้มีด้วยกันทั้งสิ้น 2 วัน พิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการจัดขึ้นที่์ โดยศาตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ หลังจากนั้นเป็นการบรรยาย เรื่อง “จดหมายเหตุแผนที่กรุงสยาม : จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงจอมจักรพรรดิ์เฉียนหลง ” โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรยายถึงประสบการณ์การไปขอดูแผนที่ สยามเมืองไทยหรือกรุงไทย สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ณ กู้กง เมืองไทเป ประเทศไต้หวัน ซึ่งกู้กงเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ หอสมุด หอจดหมายเหต ุที่เก็บสมบัติโบราณและเอกสารเก่าทั้งหมดจากพระราชวังกรุงปักกิ่งซึ่งเอกสารและสมบัติเก่าจากสยามเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงเทพนั้นก็อยู่ที่นี่ด้วยเช่นกัน ดร.ชาญวิทย์ได้มีโอกาสดูแผนที่จริง 1 ฉบับ และแผนที่จำลอง 2 ฉบับ โดยให้ความสำคัญกับแผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ (Siam to Burma Map) เป็นเส้นทางเดินทัพตั้งต้นจาก เสียนหลอก๊ก หรือ กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ไปยังกรุงหงสาวดีและอังวะผ่านเส้นทางหลายเส้น เช่น ทางกาญจนบุรี เชียงใหม่ หรือลงเรือไปยังนครศรีธรรมราช ปัตตานี ปาหัง เข้าช่องแคบมะละกา ผ่านภูเก็ต ตะนาวศรี มะริด ทวาย เมาะตะมะเป็นต้น
่
" จดหมายเหตุแผนที่บางกอก – กรุงธนบุรี - แม่น้ำเจ้าพระยา" อภิปรายโดย
ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ , คุณธวัชชัย ตั้งศิริวานิช,คุณธงชัย ลิขิตพรสวรรค์
นำเสนอแผนที่ที่ได้ทำสำเนามาจากนักประวัติศาสตร์พม่า คือ อู หม่องหม่องทิน เชื่อกันว่าเป็นแผนที่โบราณทางทหารแสดงเส้นทางทัพที่พระเจ้าปดุงบุกโยธยา(กรุงศรีอยุธยา) ในทัศนะของอูหม่องหม่องทินแผนที่นี่น่าจะเป็นแผนที่ที่หน่วยสืบราชการลับของกองทัพพม่าจัดทำขึ้นจึงเรียก
แผนที่นี้ว่า แผนที่ลับทางทหารของพม่า (Myanmar Military Intelligence Map) เพราะแสดงถึงภูมิสถานและจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเมืองบางกอก โดยจุดประสงค์ของการบรรยายเรื่องนี้วิทยากรต้องการให้นักวิชาการหรือนักประวัติศาสตร์หันมาสนใจในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
“ กรุงธนบุรี- สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับ นครศรีธรรมราช : เรื่องจริงหรืออิงนิยาย ” โดย ธัมมนันทาภิกขุนี , ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ , อ.จุฑามาศ ประมูลมาก , ผศ.กาญจนี ละอองศรีีบรรยายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในแบบที่หลักฐานของตัวเองกำหนดเช่นจากพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช จดหมายเหตุความทรงจำ ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช หรือบางท่านจากการติดต่อกับวิญญาณในสมัยนั้น
“ ประวัติศาสตร์บอกเล่าเรื่องเล่ามีชีวิต : ประสบการณ์และเทคนิควิธีการ ”โดย พ.ท. ดร. สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ , คุณอังคาร จันทร์เมือง , อ.นุชนภางค์ ชุมดี , คุณชีวสิทธิ์ บุญเกียรติ นำเสนอเกี่ยวกับประสบการณ์ในการสัมภาษณ์ของแต่ละท่านและเทคนิควิธีการในการสัมภาษณ์บุคคลในแต่ละสถานภาพและสถานการณ์โดยวิทยากรได้ยกตัวอย่างของการสัมภาษณ์ชนกลุ่มน้อยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น
“ โบราณคดีใต้น้ำกับการค้าระหว่างประเทศจากกรุงธนบุรี – จันทบูร-ฮาเตียน-ฮอยอัน-กวางตุ้ง-กรุงจีน ” โดย คุณเอิบเปรม วัชรางกูร , คุณณัฏฐภัทร จันทวิช ,อ.ทรงยศ แววหงษ์ วิทยากร นำเสนอเรื่องราวของการขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำเพื่อค้นหาเครื่องปั้นดินเผาที่มาจากเรือสำเภาที่อัปปางอยู่ในแถบอ่าวไทย ตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
วันที่ 2 ช่วงเช้าเป็นการสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “ จดหมายเหตุเมืองจันทบูร ”โดย คุณฉวีงาม มาเจริญ , คุณนันทกา พลชัย ,ดร.กัณฐิกา ศรีอุดม , คุณสายไหม จบกลศึก , คุณพันธุ์พิงค์ ธรมธัช นำเสนอเรื่องราวความสำคัญของจันทบุรีที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุต่างๆตั้งแต่สมัยอยุธยาทั้งของไทยและต่างชาติ เช่น แผนที่โบราณ จดหมายเหตุทางไมตรีของกรุงศรีกับญี่ปุ่น ในส่วนของคุณสายไหมนำเสนอภูมิหลังของจันทบุรี ลักษณะทางภูมิประเทศ และการขุดค้นทางโบราณคดีที่ค้นพบตั้งแต่ก่อนยุคหินใหม่ ตัวอย่างที่ขุดค้นพบคือศิลาจารึกหลักที่ 52 และในส่วนของ ดร.กัณฐิกาศึกษาจันทบุรีจากจดหมายเหตุของอองรี มูโอต์ ซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาสำรวจดินแดนในสยามและอินโดจีนเมื่อ 1858-1861 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
“ เส้นทางกู้บ้านกู้เมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : อยุธยา – จันทบูร – อยุธยา ”
โดย คุณสุดารา สุจฉายา , คุณมนตรี รักษาดี , คุณจารึก วิไลแก้ว , อ.อัครพงษ์ ค่ำคุณ บรรยายถึงประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยเน้นเรื่องเชื้อชาติที่พระองค์เป็นชาวจีนและเส้นทางเดินทัพกู้ชาติโดยอ้างอิงจากพงศาวดาร ทางบกเริ่มต้นจากอยุธยา ไป จันทบุรี ในมุมมองต่างๆของแต่ละบุคคล
ในช่วงบ่ายเป็นการศึกษาดูงานที่ พระราชวังเดิม (พระราชวังกรุงธนบุรี)ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่พระองค์กู้เอกราชและทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีระหว่าง พ.ศ. 2340-2325 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาปากคลองบางกอกใหญ่ขนาบด้วยวัด 2 ข้างคือวัดท้ายตลาด(วัดโมลีโลกยาราม) และวัดแจ้ง(วัดอรุณราชวราราม) ทรงเลือกที่นี่เป็นที่ตั้งของพระราชวังพร้อมทั้งรื้อป้อมวิชาเยนทร์อดีตสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สร้างใหม่แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมวิชัยประสิทธิ์
|