![]() |
||||||||
![]() |
ระยะเวลาการจัดสัมมนาและศึกษาดูงาน วันที่ 6 - 7 สิงหาคม 2551
ในการสัมมนาครั้งนี้เป็นการบรรยายทางวิชาการในช่วงเช้า และมีการฝึกปฏิบัติในช่วงบ่าย โดยมี รองอธิการบดีฝ่ายอำนวยการ (ผศ. มยุรี เทศผล) เป็นผู้แทนอธิการบดีกล่าวเปิดการสัมมนา จากนั้นเป็นการบรรยายในเรื่อง “ การบันทึกเหตุการณ์สำคัญ : เอกสารชั้นต้นในงานจดหมายเหตุ ” โดย นางสาวนันทกา พลชัย นักจดหมายเหตุ 8 ว. หัวหน้ากลุ่มบันทึกเหตุการณ์ซึ่งได้อธิบายถึงรูปแบบของจดหมายเหตุในประเทศไทยและความเป็นมาของรูปแบบการบันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์โลกและในประเทศไทย โดยได้ยกตัวอย่างรูปแบบการบันทึกจดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญของไทยในสมัยต่างๆ เช่น จดหมายเหตุโหร จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน และพระราชพงศาวดาร เป็นต้น การศึกษาดูงานในวันที่ 7 สิงหาคม 2551 ในช่วงบ่าย ศึกษาดูงานที่ พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ และ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สถานที่แรกที่ศึกษาดูงานคือ พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ในวาระโอกาสครบรอบ 120 ปี ศาลยุติธรรม จึงได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุขึ้นเพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับความเป็นมาและวิวัฒนาการของระบบการศาลไทย วัฒนธรรมทางการศาล และแนวคิดจริยธรรมของบรรพตุลาการ ในส่วนของพื้นที่ในการจัดแสดงนิทรรศการแบ่งออกเป็น 2 ห้อง คือ ห้องพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ จัดแสดงประวัติศาสตร์ศาลไทย โดยแบ่งตามยุคสมัยเริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์โดยในแต่ละยุคสมัยมีการจัดแสดงวัตถุ สิ่งของ เอกสารสำคัญประกอบไว้ด้วยนอกจากนี้ยังมีการจำลองห้องพิจารณาคดีสมัยโบราณประกอบแสง สี เสียง เรื่อง คดีพระยอดเมืองขวาง จัดแสดงไว้ด้วย ห้องที่ 2 คือ ห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน เป็นที่จัดแสดงประวัติบรรพตุลาการ หนังสือกฎหมายที่หายาก และเอกสารจดหมายเหตุที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับคดีสำคัญของประเทศไทย นอกจากนี้ทางพิพิธภัณฑ์ยังได้แสดงวิธีการซ่อม รักษาเอกสารจดหมายเหตุของหน่วยงานอีกด้วย พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นสถานที่ในการจัดแสดงสิ่งของที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ด้านการเงินการธนาคารของไทย และเนื่องในโอกาสครบรอบ 100ปี ธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยใหม่ให้มีรูปแบบการจัดแสดงด้วยระบบเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และได้รวม หอจดหมายเหตุราชหฤทัย ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2547 เพื่อเป็นที่เก็บรวบรวมเอกสารสำคัญและทรงคุณค่าของธนาคาร มาไว้ในบริเวณเดียวกันด้วย ในส่วนพื้นที่จัดแสดงแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกคือ วิวัฒนาการเงินตรา นำเสนอเกี่ยวกับ พัฒนาการทางการเงินของโลกและของประเทศไทยตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ในส่วนของ หอจดหมายเหตุราชหฤทัย อยู่บริเวณชั้นล่าง ของส่วนจัดแสดงนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ให้บริการสืบค้นข้อมูลทางด้านเอกสารจดหมายเหตุ และเอกสารโสตทัศนวัสดุที่สำคัญของธนาคารไทยพาณิชย์
|
|||||||
![]() |
||||||||
![]() |
||||||||
|