![]() |
||||||
จัดโดย หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 งานสัมมนา “ ฐานข้อมูลบูรพาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ” ในภาคเช้าเป็นการบรรยายในหัวข้อ “ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : จากวันเริ่มต้น-วันนี้ ” . โดยนางพิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ ผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุ มก. โดยกล่าวถึงประวัติความเป็นมานับตั้งแต่การก่อตั้งหอจดหมายเหตุ มก. เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบันซึ่งมีอายุครบ 5 ปี ให้เห็นพัฒนาการของหน่วยงานในด้านต่างๆ โดยสรุปภารกิจในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา และเครือข่ายหอประวัติ มก. ที่มีอยู่ในวิทยาเขตและหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย หลังจากนั้น รศ. ดร. วิโรจ อิ่มพิทักษ์ อดีตอธิการบดีคนที่ 13 ผู้ริเริ่มจัดตั้งหอจดหมายเหตุ มก. ได้ขึ้นกล่าวแสดงความชื่นชมและยินดีกับหอจดหมายเหตุ มก. ที่ก่อตั้งมาครบ 5 ปี ให้ข้อคิดและความสำคัญของประวัติศาสตร์ การมีหอจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์ และหอประวัติ เพื่อรวบรวมประวัติ และข้อมูลอย่างมีระบบและได้มาตรฐาน มีคุณค่า ทำให้คนรุ่นหลังมีจิตวิญญาณในองค์กร ในสถาบัน สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต จากนั้น รศ. อรรถ บุญนิธี บูรพาจารย์ผู้ทำคุณประโยชน์ให้ มก. ได้กล่าวถึงความทรงจำต่างๆ ในสมัยที่ท่านยังเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย อาจารย์ยังศึกษาหาความรู้ต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์เคยสอนอยู่เสมอ และกล่าวถึงความสำคัญของห้องสมุดที่มีประโยชน์ต่ออาจารย์มาตั้งแต่สมัยรับราชการ สอนนิสิต และศึกษาหาความรู้ในปัจจุบันหลังเกษียณ และ ดร. นิรันดร์ สิงหบุตรา ได้มาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่อาจารย์ได้ริเริ่มไว้และเป็นประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำหนังสือรุ่น KU 13 และเรื่องการฝึกซ้อมบัณฑิตในพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งคณะเกษตรโดยท่านอาจารย์เป็นผู้ริเริ่มแบบแผนการฝึกซ้อมใหม่ และคณะต่างๆ นำไปปฏิบัติด้วยทั่วทั้งมหาวิทยาลัย และการที่อาจารย์ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการจากมหาวิทยาลัยไปช่วยจัดงานวันเกษตรของโรงเรียนปิยชาติพัฒนา จ. นครนายก ซึ่งมีกรรมการจากทุกสาขาในมหาวิทยาลัยมาร่วมกันปฏิบัติงาน และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมากในการจัดงานปีนั้น นางสาวประดิษฐา ศิริพันธ์ บรรยายในหัวข้อ “ จดหมายเหตุดิจิทัล ( Digital Archives ) ” โดยเริ่มกล่าวถึง่คำจำกัดความของคำว่า จดหมายเหตุ จากนิยามศัพท์ของหลายหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ความหมาย รูปแบบ และประโยชน์ของจดหมายเหตุดิจิทัล ความเกี่ยวเนื่องระหว่างจดหมายเหตุดิจิทัล ห้องสมุดดิจิทัล การจัดทำเอกสารจดหมายเหตุและหนังสือให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น แผนที่โบราณ วารสารวชิรญาณวิเศษ เป็นต้น โดยมีการแสดงตัวอย่าง Digital Archives ในรูปแบบต่างๆ และตัวอย่างหน่วยงานที่มีการเผยแพร่เอกสารในรูปแบบดิจิทัล เช่น ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ STKS หรือ National Archives ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถสืบค้นเอกสารราชการได้โดยใช้หมายเลขบัตรประชาชนได้ นายชิตพงษ์ กิตตินราดร บรรยายในหัวข้อ “ ลิขสิทธิ์ข้อมูลดิจิทัล ( Creative Commons license ) ” ได้กล่าวถึงเรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ในโลก Digital หรือ Creative Commons ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ครีเอทีฟคอมมอนส์ คือ การสงวนสิทธิ์ที่สมเหตุสมผล การส่งเสริมคนให้เคารพสิทธิ์มากขึ้น การคืนความรู้ ความคิดสร้างสรรค์สู่สาธารณะ การทำบุญยุคใหม่ และรากฐานของวัฒนธรรมเสรี วิทยากรได้กล่าวถึงสัญลักษณ์ของครีเอทีฟคอมมอนส์ ( CC ) รูปแบบและประเภทลำดับขั้นของสิทธิ์ในแต่ละแบบที่จะใช้กับข้อมูลดิจิทัล การเลือกใช้รูปแบบผสมสิทธิ์ของผู้ใช้งานในอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างของหน่วยงานที่มีการใช้ CC และกำลังดำเนินการใช้ในอนาคต เป็นต้น ในภาคบ่ายเป็นการสัมมนาในหัวข้อ “ การจัดทำฐานข้อมูล ( Digital Archives ) บูรพาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ” โดยนางสาวพฎา พุทธสมัย นางสาวปัทมา คงศักดิ์ไพบูลย์ และนาย วิชัย ปฏิภากรณ์ โดยเริ่มจากนางสาวพฎา พุทธสมัย นักเอกสารสนเทศ หอจดหมายเหตุ มก. แนะนำฐานข้อมูล “ บูรพาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ” เริ่มตั้งแต่การเข้าถึงฐานข้อมูลฯ การใช้งานเพื่อค้นหาข้อมูลจากหัวข้อต่างๆ ภายในฐาน จากนั้นจึงกล่าวถึงการได้มาซึ่งเนื้อหาของฐานข้อมูล การจัดเตรียมข้อมูลสำหรับทำฐานข้อมูลฯ แหล่งข้อมูลในส่วนของเนื้อหา จากนั้นในส่วนของภาพประกอบ นางสาวปัทมา คงศักดิ์ไพบูลย์ นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุ มก. ได้มาเล่าประสบการณ์ในส่วนของการจัดทำภาพเพื่อใช้ประกอบในการจัดทำฐานข้อมูล รวมถึงการหาภาพประกอบจากหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ด้วย เช่น สำนักประชาสัมพันธ์ มก. สำนักหอสมุด วิทยาเขตบางเขนและกำแพงแสน เป็นต้น ในส่วนของนายวิชัย ปฏิภากรณ์ ได้บรรยายในส่วนของเทคนิคในการจัดทำฐานข้อมูลโดยใช้ความรู้เฉพาะทางในการเขียนและจัดทำฐานข้อมูลฯ นี้ขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการจัดทำฐานข้อมูลฯนี้ ขั้นตอนการทำงาน การออกแบบ ขั้นตอนการทำงาน เครื่องมือสำหรับปรับปรุงคุณภาพข้อมูล เครื่องมือสำหรับแปลงข้อมูล ภายใน HTML การติดตามผลการใช้งาน การทดสอบการใช้งาน (ภายใน, Off-line และ On-line ) แนวทางในการปรับปรุง ได้แก่ เนื้อหาข้อมูล ประเภทของข้อมูล การแสดงผล เป็นต้น ช่องทางการติดต่อ และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น การประยุกต์ใช้งานกับข้อมูลอื่นๆ ปรับปรุงรูปแบบให้มีมาตรฐานทุกขั้นตอน ผลงานสามารถนำไปต่อยอดและเก็บไว้ใช้อ้างอิงต่อไปได้ เป็นต้น * เอกสารประกอบการบรรยายของวิทยากร * 1. เอกสารประกอบการบรรยายของ คุณพิบูลศิลป์ วัฒฑนะพงศ์ เรื่อง ก้าวต่อไปของหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Download Here
|
||||||
![]() |
||||||
![]() |
||||||
![]() |
||||||
![]() |
||||||
|